“ปวดเข่า” อาการยอดฮิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามวัย แต่รู้หรือไม่ว่า อาการปวดเข่าเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค “ข้อเข่าเสื่อม” โรคที่สร้างความทรมานให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก แล้วโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นอย่างไร สามารถรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
ข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?
ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า ซึ่งกระดูกอ่อนเปรียบเสมือนหมอนรองที่ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างกระดูก เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้กระดูกเสียดสีกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบ ขยับเข่าลำบาก ซึ่งหากพบว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ควรรีบมารักษาโดยด่วน
สาเหตุของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
สำหรับสาเหตุของอาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกอ่อนในข้อเข่าก็จะเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่ต้องทำการรักษามากตามไปด้วย
- น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่มาก จะเพิ่มแรงกดทับต่อข้อเข่า ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมเร็วขึ้น
- การใช้งาน การใช้งานข้อเข่าหนักๆ เป็นเวลานาน เช่น การเล่นกีฬา การยกของหนัก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม
- โรคประจำตัว โรคบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้
- พันธุกรรม หากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
อาการของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
หากมีอาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา ก่อนอาการจะเริ่มลุกลาม
- ปวดบริเวณข้อเข่า โดยเฉพาะตอนขยับเข่า ลุกนั่ง เดินขึ้นลงบันได
- เข่าบวม ตึง
- ขยับเข่าลำบาก เสียงดังก๊อกแก๊ก
- ขาโก่ง
- รู้สึกอ่อนแรงบริเวณขา
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุรักษาหายได้หรือไม่?
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลอความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและบรรเทาอาการปวดได้ โดยวิธีการรักษาแบ่งออกเป็นดังนี้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหนักๆ
- ประคบร้อน/เย็น
- ทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ
- ใส่เฝือก หรือ อุปกรณ์ช่วยพยุงเข่า
- กายภาพบำบัด
- ฉีดยาเข้าข้อเข่า เช่น สารหล่อลื่น หรือ ยาสเตียรอยด์
การรักษาแบบผ่าตัด
กรณีที่อาการรุนแรง รักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่เพียงพอ ซึ่งการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดส่องกล้องเปลี่ยนผิวข้อเข่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกประเภทที่ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหนักๆ
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคที่พบได้บ่อย ต้องการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน บรรเทาอาการปวด และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข